[ไขข้อข้องใจ] กระบวนการผลิต มีอะไรบ้าง
การจัดระเบียบขั้นตอนการผลิต คือหนึ่งในความท้าทายใหญ่ของการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบต้องเผชิญเมื่อกลายเป็นเจ้าของโรงงาน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เครื่องจักรและแรงงานจำนวนมากในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและล่าช้าระหว่างการทำงานได้ ดังนั้นการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับ กระบวนการผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดข้อผิดพลาด ระยะเวลา และของเหลือใช้จากการผลิต
ความหมายและความสำคัญของกระบวนการผลิตต่อโรงงานอุตสาหกรรม
กระบวนการผลิต (Production System) คือขั้นตอนและองค์ประกอบที่ถูกใช้เพื่อนำมาแปรสภาพเพื่อสร้างสินค้าที่มีมูลค่า โดยใน อุตสาหกรรมการผลิต กระบวนการผลิตที่กล่าวถึงนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารวัตถุดิบ จัดระบบโรงงาน ไปจนถึงการเพิ่มมูลค่าและควบคุมประสิทธิภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
ซึ่งการควบคุมกระบวนการผลิตที่มีศักยภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้ ทั้งต้นทุนการผลิตสินค้า ระยะเวลาที่ใช้ผลิต และข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวนั่นเอง
3 องค์ประกอบสำคัญในกระบวนการผลิต
องค์ประกอบในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ปัจจัยการผลิต (Input/Material) หรือทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ เงินทุน ข้อมูลพื้นฐาน พลังงานไฟฟ้า และระบบที่ใช้สำหรับการผลิต
2. กระบวนการแปลงสภาพ (Processing) ขั้นตอนการผลิตเพื่อแปรสภาพวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ เช่น การวางแผนการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และการตกแต่งสินค้า
3. ผลผลิต (Output/Product) ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้า (Goods) และบริการ (Service)
ขั้นตอนของกระบวนการผลิต
การวางแผนและควบคุมการผลิตที่ดี คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สินค้ามีคุณภาพและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสินค้า อาจรวมไปถึงปริมาณผลผลิต ระยะเวลาการผลิต ต้นทุนที่ใช้ ราคาของสินค้า และขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ดี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. การวางแผน (Planning)
การวางแผน (Planning) คือขั้นตอนแรกที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำก่อนเริ่มดำเนินการผลิต หรืออาจเรียกว่าเป็น การบริหารจัดการโครงการ และวางแผนการผลิตสินค้า ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ แรงงาน หรือค่าใช้จ่าย และเลือกใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการผลิตและเกิดผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากที่สุด
2. การดำเนินงาน (Operation)
การดำเนินงาน (Operation) คือขั้นตอนการผลิตที่เป็นไปตามแผนงานในขั้นตอนแรก โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนงานไปจนถึงการส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้า ทั้งการเลือกใช้ทรัพยากร วิธีการผลิต ระบบโรงงาน ปริมาณสินค้า และลำดับขั้นตอนของกระบวนการผลิต เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่น่าพึงพอใจ
3. การควบคุม (Control)
การควบคุม (Control) คือขั้นตอนระหว่างการผลิตสินค้าเพื่อควบคุมคุณภาพของผลผลิต ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระยะเวลาการทำงาน จำนวนแรงงาน และจัดระเบียบระบบโรงงาน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบ MES, ERP และอื่น ๆ
รู้จักความแตกต่างของกระบวนการผลิตแต่ละประเภท
ด้วยรูปแบบสินค้าที่แตกต่างกันในโรงงานแต่ละแห่ง การใช้กระบวนการผลิตเพียงรูปแบบเดียว จึงอาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเลือกรูปแบบกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับสินค้า โดยสามารถแบ่งวิธีจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
จำแนกตามลักษณะสินค้า
-
กระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อ เปลี่ยนแปลงตามความต้องการลูกค้าแต่ละราย จึงไม่สามารถคาดการณ์จำนวนสินค้าล่วงหน้าได้ และผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้า เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า หรือการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์
-
กระบวนการผลิตเพื่อรอจำหน่าย มีขั้นตอนการผลิตภายใต้มาตรฐานเดียว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหญ่ จึงสามารถคาดการณ์จำนวนล่วงหน้าได้ และจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เช่น สบู่ รถยนต์ หรือเครื่องสำอาง
-
กระบวนการผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ การผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็ก ซึ่งประกอบกลายเป็นสินค้าตามความต้องการลูกค้า ดังนั้นจึงสามารถผลิตเพื่อรอการสั่งซื้อได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
จำแนกตามระบบปริมาณการผลิต
-
กระบวนการผลิตแบบโครงการ เช่น การก่อสร้างถนน ทางด่วน หรืออสังหาริมทรัพย์ การผลิตสินค้าที่มีขนาดใหญ่และใช้งบประมาณสูง ซึ่งมักเป็นสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นในปริมาณน้อย หรือจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานและเปลี่ยนสถานที่ผลิตตามความต้องการลูกค้า
-
กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น การหลอมเหล็ก กลั่นน้ำมัน ผลิตกระดาษ เป็นต้น การผลิตสินค้าประเภทเดียวอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักร มักเป็นสินค้าที่ถูกแปรสภาพจากธรรมชาติ และกลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง
-
กระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง การผลิตสินค้าที่มีปริมาณแน่นอนในแต่ละชุด และเปลี่ยนประเภทสินค้าโดยใช้เครื่องจักรรูปแบบเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มลูกค้า เช่น เฟอร์นิเจอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต เป็นต้น
-
กระบวนการผลิตแบบกลุ่ม มักถูกใช้ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้า เพราะเป็นการผลิตสินค้ากลุ่มที่ได้รับความนิยมสูง มีลักษณะเฉพาะ และมีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกัน ด้วยกระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อและรอการสั่งซื้อ
-
กระบวนการผลิตแบบไหลผ่าน การผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะต่อสินค้าแต่ละประเภท โดยสินค้ามักมีลักษณะเพียงรูปแบบเดียวเช่น น้ำยาล้างจาน ยาสระผม สบู่ หรือผงซักฟอก เป็นต้น นับเป็นกระบวนการผลิตที่มีความต่อเนื่อง รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์จำนวนมาก
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกประเภทของกระบวนการผลิต
ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ประเภทกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงปัจจัยและองค์ประกอบที่มีผลต่อการผลิตสินค้า ดังนี้
-
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น ความซับซ้อนด้านการผลิต ปริมาณสินค้า และอายุการใช้งาน เช่น สินค้าปริมาณมากเหมาะกับการผลิตแบบไหลผ่าน หรือสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงอาจจำเป็นต้องใช้กระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อ เป็นต้น
-
ความต้องการของตลาด การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องและแบบกลุ่มสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่แน่นอนได้ดี และในขณะที่การผลิตแบบต่อเนื่องเป็นกระบวนการผลิตที่เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแน่นอน
-
ต้นทุนการผลิต ต้นทุนแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบ นับเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้เครื่องจักรแต่ละรูปแบบ เช่น สินค้าแรงงานและวัตถุดิบราคาสูง จำเป็นต้องใช้กระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรประสิทธิภาพสูงสุด
-
พื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม โดยในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดควรเลือกกระบวนการผลิตสินค้าแบบกลุ่ม แบบเฉพาะเจาะจง หรือแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อให้โรงงานสามารถใช้งานเครื่องจักรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
บทสรุปการใช้งานเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต
การวางแผนกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ คือหัวใจสำคัญของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะอาจส่งผลทั้งต้นทุน ทรัพยากร และปริมาณของผลผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมแผนการผลิตจึงกลายเป็นตัวแปรที่ทำให้ธุรกิจสามารถต่อยอดได้ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น ระบบ MES ระบบ ERP หรือระบบโรงงานรูปแบบอื่น
ARES เราเป็นผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ ที่พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิต และพัฒนาโรงงานของท่านให้กลายเป็น โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Industry ด้วยระบบปฏิบัติการ MES system CiMES
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th