การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง POS กับ ARGOERP
สำหรับธุรกิจค้าปลีก
ARGOERP เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถประสานการทำงานร่วมกับระบบ POS (Point of Sale) ได้อย่างลงตัว โดยสามารถเลือกรูปแบบการ Interface ให้เข้ากับธุรกิจของลูกค้าที่มีหลายๆ สาขา เพื่อให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องครบถ้วน และลดความซ้ำซ้อน ส่งผลให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผน ปรับกลยุทธ์ หรือกำหนดทิศทางองค์กรได้อย่างถูกต้องทันเวลาต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยรูปแบบการ Interface ข้อมูลระหว่าง POS กับ ARGOERP แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆดังนี้
แบบที่ 1 การควบคุมสต็อกจะดำเนินการผ่าน POS และในส่วนของระบบ ARGOERP จะเป็นระบบหลังบ้านในการรับเข้าข้อมูลรายการซื้อ – ขายสินค้าจาก POS เพื่อบันทึกบัญชีและวิเคราะห์รายได้-ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของแต่ละสาขา
แบบที่ 2 การควบคุมสต็อกจะ Control ทั้ง POS และ ARGO ERP, และ ARGO ERP จะเป็นส่วนหลังบ้านในการรับเข้าข้อมูลรายการซื้อ – ขายสินค้าจาก POS เพื่อบันทึกบัญชีวิเคราะห์รายได้-ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของแต่ละสาขา
ข้อแตกต่างของแบบที่ 2 คือ การ Control Stock ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ระบบต้องมีการสื่อสารสองทางระหว่าง POS และ ARGOERP ทั้งในส่วนของการรับเข้าและส่งออกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า เพื่อให้ข้อมูลคลังสินค้าถูกต้องตรงกัน เหมาะกับลักษณะการดำเนินงานที่ต้องมีการควบคุมหรือเคลื่อนไหวคลังสินค้าทั้งจากส่วนกลางและจากทางสาขา
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ บริษัท เอรีสอินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) ได้เคย Implement ระบบ ERP ให้กับลูกค้าธุรกิจขายปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบ POS ที่เป็นลักษณะกึ่ง ERP ทำให้รูปแบบการเชื่อมต่อแตกต่างจาก 2 รูปแบบข้างต้น กล่าวคือ ระบบ ARGOERP จะใช้เพียง Module Account Payable (AP) , Account Receivable (AR) , Fixed Asset และ General Ledger (GL) เท่านั้น ข้อมูลการซื้อขายสินค้าทั้งหมดตลอดจนการผูกรหัสบัญชีจะมาจากระบบ POS ซึ่งเป็นตัวประมวลผล
ตัวอย่างเช่น
กรณีขายสด ข้อมูลการขายหน้าร้านจากระบบ POS จะถูกประมวลผลและส่งเป็นรหัสบัญชี Debit, Credit interface เข้าสู่ Module GL ของระบบ ARGOERP โดยตรง
กรณีขายเชื่อ ข้อมูลการขายและรหัสบัญชีรายได้จะ interface จาก POS เข้าสู่ Module AR ของระบบ ARGOERP เพื่อบันทึกบัญชี ตั้งหนี้จากการขาย และเข้าสู่กระบวนการรับชำระเงินต่อไป ส่วนรหัสบัญชีสินค้าและรหัสบัญชีต้นทุนจากการขายจะถูก interface เข้า Module GL เป็นต้น
ซึ่งข้อดีคือ Transaction ใน ARGOERP จะลดน้อยลง การเรียกรายงานต่างๆ จะเร็วขึ้น เนื่องจาก ARGOERP ไม่ต้องเก็บรายละเอียดรายการสินค้าทุกรายการ ในทุกๆบิลขายและบิลซื้อ และลดความซ้ำซ้อนของการทำงานให้กับพนักงาน
จะเห็นได้ว่า ระบบ ARGOERP มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการ Interface ได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะการดำเนินกิจการของแต่ละบริษัท ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบ หรือเลือกรูปแบบในการ Interface ระหว่าง POS กับ ERP ให้เข้ากับองค์กรและตอบโจทย์การทำงาน