Automation พลังขับเคลื่อนองค์กรและอุตสาหกรรมการผลิตสู่อนาคต

 

Automation

ระบบ Automation มีบทบาทแค่ไหนในปัจจุบัน ทำไมผู้ประกอบการควรสนใจในเรื่องนี้

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีความท้าทายมากมายที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องเผชิญ ซึ่งหนึ่งในความท้าทายสำคัญที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากคือเทคโนโลยี ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Digital transformation ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์หลักที่องค์กรต่าง ๆ นำมาใช้ยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินงาน และทลายขีดจำกัดเดิม ๆ 

และนอกจากนี้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะได้เข้ามามีบทบาทมากมายในกระบวนการทำงานของธุรกิจนั่นคือ ระบบ Automation หรือ ระบบอัตโนมัติ และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงงานหรือคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจหลากหลายประเภท เช่น ช่วยวิเคราะห์ยอดขาย และคาดเดาความต้องการของลูกค้า ตรวจสอบเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และป้องกันการฉ้อโกง และอีกมากมาย แล้วในส่วนของโรงงานและอุตสาหกรรมการผลิตระบบ Automation จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้าง บทความนี้เราจะมาเจาะลึกตรงนี้กัน

ทำความเข้าใจ Automation คืออะไร

Automation คือ การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีมาทำงานแทนมนุษย์ในการดำเนินงานต่าง ๆ และลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนไปจนถึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานในงานนั้นๆ เลย

งานที่นิยมประยุกต์ใช้ระบบ Automation เข้ามาร่วมคืองานที่มีลักษณะต้องทำแบบเดิมซ้ำ ๆ หรือต้องการความแม่นยำสูง เช่น ควบคุมการผลิตของเครื่องจักรในโรงงานและสรุปผลให้ผู้ใช้งาน ใช้แขนกลยกย้ายวัสดุขนาดใหญ่ ให้การบริการลูกค้า การตอบกลับข้อความอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์ข้อมูล ระบบ Automation ช่วยลดข้อผิดพลาด Human Error เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดต้นทุนในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

ประเภทของระบบ Automation ที่ใช้ในโรงงาน

ประเภทของระบบAutomation1. Fixed Automation

Fixed Automation บางคนเรียกว่าระบบอัตโนมัติแบบกำหนดการใช้งานแบบคงที่หรือตายตัว เป็นระบบที่ใช้เครื่องจักรทำงานแบบเฉพาะเจาะจง ผลิตงานซ้ำ ๆ ในรูปแบบเดิม เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อทำงานที่กำหนดไว้โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับแต่งได้ง่าย ๆ เหมาะสำหรับการผลิตสินค้าจำนวนมากแบบแยกส่วน เช่น สายการผลิตอัตโนมัติในโรงงานผลิตรถยนต์ หรือสายการผลิตขวดน้ำดื่ม ซึ่งต้องทำงานตามรูปแบบเดียวกันซ้ำ ๆ จึงกลายเป็นข้อจำกัดหนึ่งของระบบ Fixed Automation ในเรื่องความยืดหยุ่น

2. Programmable Automation 

Programmable Automation หรือ ระบบอัตโนมัติแบบตั้งโปรแกรมได้ จุดเด่นคือเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่ง และกำหนดการตั้งค่าใหม่ได้เสมอ เหมาะสำหรับงานผลิตที่มีความหลากหลาย ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบ่อย ๆ Programmable Automation จะเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ผ่านชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ 

3. Flexible Automation

Flexible Automation คือ รูปแบบของระบบอัตโนมัติที่มีความยืดหยุ่นสูงที่สุดในบรรดาระบบอัตโนมัติทั้งหมด สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการทำงานได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อรองรับการผลิตสินค้าที่หลากหลายและมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง ระบบนี้ใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ ควบคุมการทำงาน  เปลี่ยนแปลงโปรแกรม และคำสั่ง ได้ง่ายดาย ผ่านรหัส โรงงานผลิตใดที่มีการเปลี่ยนแปลงการผลิตบ่อย ๆ ไม่ต้องมาเสียเวลาตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง ประหยัดเวลาและลดการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต

4. Integrated Automation

Integrated Automation คือ ระบบอัตโนมัติที่รวมเอาเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันในโรงงานหรือสายการผลิต โดยมีการเชื่อมต่อและประสานงานระหว่างเครื่องจักร, อุปกรณ์, ซอฟต์แวร์ และระบบควบคุมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ผ่านเครือข่ายและซอฟต์แวร์ ระบบเหล่านี้จะแลกเปลี่ยนข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และตัดสินใจร่วมกัน เพื่อควบคุมประสานงานและปรับกระบวนการผลิตโดยรวม ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสานงานกันอย่างราบรื่น ระบบนี้จำเป็นต้องมีผู้ที่ควบคุม ดูแลตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างระบบที่ใช้ใน Integrated Automation เช่น Computer-aided process planning (CAPP), Flexible machine systems (FMS), Computer numerical control (CNC) และอีกมากมาย

และนี่คือ 5 ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ควรนำ Automation มาปรับใช้ในการทำงาน

  • อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงที่สุดในโลก เนื้องานหลาย ๆ อย่างในอุตสาหกรรม เช่น การกลิ้ง การขึ้นรูป หรือการเชื่อม ระบบ Automation สามารถช่วยปรับปรุงความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงการขนย้ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอีกด้วย

  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ Automation ช่วยงานได้อย่างมาก เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบแผงวงจรต่าง ๆ ทำให้ชิ้นงานที่ได้มีความละเอียดและแม่นยำสูง ลดข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ได้ดี

  • อุตสาหกรรมพลาสติก การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกที่ต้องการความละเอียดสูงและการผลิตจำนวนมาก และระบบ Automation สามารถ QC สินค้าได้อย่างแม่นยำ เช่น การตรวจสอบความหนา ความแข็งแรง และคุณภาพของชิ้นส่วนพลาสติก

  • อุตสาหกรรมยานยนต์ ระบบ Automation สามารถทำงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ รวมถึงการพ่นสีและการเคลือบผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายต่าง ๆ ต่อพนักงานที่มาจากกระบวนการผลิต

  • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ระบบอัตโนมัติสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มสำหรับงานต่าง ๆ เช่น การบรรจุภัณฑ์ การติดฉลาก และการควบคุมคุณภาพ สามารถรักษามาตรฐานความสะอาดสูงสุด มั่นใจในความถูกต้องของการบรรจุภัณฑ์ และลดของเสีย ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นในการผลิตอาหาร

ประโยชน์ของระบบ Automation ต่องานผลิต

ประโยชน์ของAutomation

  • ประหยัดเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: Automation ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในงานที่ทำซ้ำ ๆ และเพิ่มความเร็วในการทำงาน ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

  • ทดแทนแรงงานในงานที่เป็นอันตราย: ระบบ Automation ช่วยทดแทนแรงงานในงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดจาก Human error ในการทำงาน เช่น อุตสาหกรรมกระจก

  • ลดต้นทุนระยะยาว: จริงอยู่ว่า Automation นั้นมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก แต่ในระยะยาวแล้ว Automation ช่วยลดต้นทุนได้หลายด้าน เนื่องจากความแม่นยำในการผลิตที่สูงขึ้น สามารถคำนวนจุดคุ้มทุนก่อนลงทุนได้

  • ประหยัดพลังงาน: Automation ระบบอัตโนมัติมีบทบาทสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน ช่วยลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้สอดคล้องกับหลักการ ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่มุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

บทบาทและความสำคัญของ Automation สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

  • ระบบหลังการขายที่ครบครัน เมื่อลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ เช่น มีข้อสอบถามเรื่องผลิตภัณฑ์หรือการรับประกัน ระบบ Automation สามารถให้ข้อมูลและแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าพบเจอได้อย่างรวดเร็ว โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองทันที หรือหากพนักงานต้องคุยกับลูกค้าผ่านช่องทาง Live chat หรือ Chatbot ก็สามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในระบบเช่นกัน

  • พัฒนาทักษะใหม่ให้กับพนักงาน การนำเทคโนโลยี Automation เข้ามาใช้ในองค์กรยุคใหม่ยังช่วยเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับพนักงานอีกด้วย ซึ่งส่งผลดีสองต่อคือพนักงานเรียนรู้การทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและมีทักษะในการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ต่อที่สองคือองค์กรเองก็จะมีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพจากการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของพนักงาน

  • ส่งเสริมแคมเปญทางการตลาด นักการตลาดสามารถใช้ข้อมูลจากระบบ Automation ดำเนินกิจกรรมการตลาดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เช่น การตั้งแคมเปญ การแบ่งกลุ่มลูกค้า การติดตามพฤติกรรมลูกค้า นอกจากนี้ระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อสร้างรายงานและสามารถวิเคราะห์ต่อเพื่อใช้ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมต่อ ๆ ไปในอนาคตได้อีกด้วย

  • ก้าวหน้าเหนือคู่แข่งและภาพลักษณ์องค์กรที่ทันสมัย เทคโนโลยีช่วยลดงานซ้ำซ้อน งานที่ใช้เวลานาน และงานที่เสี่ยงต่ออันตราย ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กร และองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล แสดงถึงการเป็นองค์กรสมัยใหม่มุ่งมั่นที่จะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าอีกด้วย

ความสำคัญของAutomation

สรุปความสำคัญของ Automation ในอุตสาหกรรมการผลิต

แม้ว่าการลงทุนในระบบ Automation จะมีค่าใช้จ่ายระยะเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้ามองในระยะยาวถือว่าเป็นการจ่ายที่คุ้มค่า Automation ไม่ได้แทนที่แรงงานมนุษย์ แต่ช่วยให้แรงงานสามารถทำงานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ความแม่นยำในการวิเคราะห์ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง การควบคุมและการบำรุงรักษาระบบ ทำให้การผลิตมีความเสถียรและคุณภาพสูงขึ้น ลดและป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตและเพิ่มกำลังการผลิตต่อวันไปพร้อมกัน ๆ 

ระบบ ciMES จาก Ares เป็นอีกหนึ่งระบบที่สามารถทำงานร่วมกับ Automation ได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลายด้าน โดยการบูรณาการข้อมูลช่วยให้มีการมองเห็นและควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมดในแบบเรียลไทม์ ยิ่งในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน ยิ่งต้องอาศัยระบบควบคุมอัตโนมัติอัจฉริยะ การทำงานร่วมกันระหว่าง ciMES และ Automation จะช่วยเข้ามาปิดช่องโหว่การทำงานได้ ต้องการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างละเอียด? ทีมงานของเราพร้อมให้บริการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อวางแผนการลงทุนของคุณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ติดต่อเรา Ares

ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us

หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง 
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th