OEE คืออะไร? สามารถคำนวณได้อย่างไร (พร้อมตัวอย่าง)
หากพูดถึงตัวชี้วัดที่สามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของระบบการผลิตและเครื่องจักรแล้วนั้น ค่า OEE จะต้องเป็นหนึ่งในคำตอบอย่างแน่นอน การใช้ค่า OEE เข้ามามีส่วนประกอบในการประเมินขีดความสามารถของโรงงานเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับโรงงานสมัยใหม่ ค่านี้จะสามารถคำนวณได้อย่างไร แล้วผู้ประกอบการสามารถหาวิธีที่จะช่วยให้การคำนวณนี้ง่ายขึ้นอย่างไรได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ
ทำความรู้จัก OEE คืออะไร?
OEE ย่อมาจาก Overall Equipment Effectiveness หรือประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยรวม นับเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน โดย OEE จะคำนวณจาก 3 ส่วนหลักคือ Availability, Performance และ Quality เพื่อให้ได้ค่าที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพรวมของเครื่องจักรนั้น ๆ
Availability
Availability หรืออัตราการเดินเครื่องจักร นับจากเวลาที่เครื่องจักรมีการทำงานจริงหารกับเวลาทั้งหมดที่เครื่องจักรควรจะมีการทำงานได้ในช่วงเวลานั้น ๆ หากมีปัญหาที่ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน เช่น การซ่อมบำรุง หรือปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ จะทำให้ความพร้อมใช้งานลดลง ฉะนั้น หากค่า Availability อยู่ที่ 100% หมายความว่าเครื่องจักรนั้นไม่เกิดปัญหา และสามารถทำงานได้ต่อเนื่องตลอดนั่นเอง
Performance
Performance หรือประสิทธิภาพการเดินเครื่อง หมายถึงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในช่วงเวลาที่มีการทำงานจริง ทำให้เรารับรู้ถึงประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักรว่าทำได้ถึงกี่เปอร์เซ็นต์ของมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดย Performance จะวัดจากประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ทำงานแล้วเทียบกับประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ หากค่า Performance เป็น 100% หมายความว่าเครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ตามต้องการ
Quality
Quality หรืออัตราคุณภาพ หมายถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือผลลัพธ์ที่เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทำได้ในระหว่างการทำงาน ช่วยให้เรารู้ว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น คุณภาพของสินค้าที่ผลิตขึ้นต้องไม่มีตำหนิหรือเสียหายจะนับเป็น 100%
การคำนวณค่า OEE
การคำนวณค่า OEE (Overall Equipment Effectiveness) ทำได้โดยใช้สูตรที่ค่อนข้างเรียบง่าย โดยใช้ข้อมูลจากสามส่วนหลักคือ Availability, Performance, และ Quality ดังนี้
OEE = Availability x Performance Efficiency x Quality Rate
โดยมีรายละเอียดในการคำนวณตามตารางด้านล่าง ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบ % เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการคำนวณ OEE
หากเครื่องจักรทำงานไปเป็นเวลา 420 นาทีจากที่กำหนดไว้ 480 นาที และมีสินค้าที่ผลิตได้ตามจริง 320 ชิ้นจากที่คาดไว้ว่าจะได้ 400 ชิ้น เมื่อคัดแล้ว มีสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน 280 ชิ้นจากทั้งหมด จะได้ข้อมูลดังนี้
-
คำนวณ Availability
เวลาที่เครื่องจักรมีการทำงานจริง (Net Operating Time) = 420 นาที
เวลาทั้งหมดที่คาดหวัง (Planned Production Time) = 480 นาที
-
คำนวณ Performance
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ตามจริง (Actual Production Count) = 320 หน่วย
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังที่จะผลิตได้ (Ideal Production Count) = 400 หน่วย
-
คำนวณ Quality
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน (Good Count) = 280 หน่วย
จำนวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตได้ (Total Count) = 320 หน่วย
-
คำนวณ OEE :
จากผลลัพธ์ในการคำนวณค่า OEE ออกมาได้ 61.25% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางเท่านั้น อีกทั้งสามารถเห็นได้ว่าควรปรับปรุงหรือเริ่มแก้ไขปัญหาที่ส่วนใด ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรทำการปรับปรุงคุณภาพต่าง ๆ และคำนวณค่า OEE ใหม่ออกมาให้ได้ 100% จะเป็นการดีที่สุด
ผลกระทบหาก OEE ต่ำมีอะไรบ้าง?
ปัญหาที่ส่วนมากพบในโรงงานเมื่อ OEE ต่ำสามารถแบ่งออกเป็นระดับการกระทำในระยะสั้น กลาง และยาวได้ดังนี้
-
ผลกระทบระยะสั้น (Immediate Impact)
-
กระทบต่อแผนงานผลิตลูกค้า : หากค่า OEE ต่ำอาจส่งผลให้ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ออกมาไม่พอความต้องการของลูกค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท และการดำเนินงานต่อไปในอนาคตได้
-
มีต้นทุนที่สูงขึ้น : การที่ค่า OEE ต่ำเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ใช้วัตถุดิบเกินความจำเป็น หรือไม่สามารถผลิตตามเวลาที่กำหนด จึงส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมสูงขึ้น
-
สูญเสียเวลา : การที่ OEE ต่ำ เป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพของงานโดยตรง นั่นจึงส่งผลให้ทางโรงงานอาจต้องเสียเวลาในการจัดการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้
-
-
ผลกระทบระยะกลาง (Medium-Term Impact)
-
ซ่อมบำรุงบ่อย : การที่ค่า OEE ต่ำอาจเกิดจากเครื่องจักรที่ขาดการดูแลรักษา และหากทางผู้ประกอบการไม่ได้ใส่ใจในจุดนี้ อาจส่งผลให้การความถี่ในการซ่อมแซมเครื่องจักรบ่อยขึ้น จึงต้องวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรในขั้นตอน Preventive Maintainance ก่อนที่จะสูญเสียทั้งเงินและเวลาเพิ่ม
-
จัดหาวัสดุเพิ่มขึ้น : ค่า OEE ที่ต่ำแสดงถึงการทำงานที่ผิดพลาด ทำให้ต้องจัดหาวัสดุทดแทนการผลิตที่ผิดพลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
-
-
ผลกระทบระยะยาว (Long-Term Impact)
-
ความสามารถในการแข่งขันในตลาดลดลง : การลดลงของ OEE ทำให้เห็นภาพรวมว่าประสิทธิภาพการแข่งขันของโรงงานนั้นมีแนวโน้มที่ต่ำลงไปด้วย เนื่องจากเป็นค่าที่วัดผลจากกระบวนการผลิตโดยตรง และหากไม่ได้มีการแก้ไขจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของบริษัท การทำงาน รวมถึงการผลิตในระยะยาว
-
โอกาสในการขาดทุนที่มากขึ้น : จากแนวโน้มทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมของความผิดพลาด การทำงาน รวมถึงเวลาในการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลโดยตรงไปยังต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และอัตรากำไรที่ลดลง ในท้ายที่สุดแล้วอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนโดยไม่จำเป็น
-
จะสังเกตได้ว่าหากผู้ประกอบการไม่ได้มีการปรับปรุง OEE อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น จะส่งผลให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพต่ำลงในทุกแง่มุม ดังนั้นทางผู้ประกอบการควรให้ความใส่ใจในการตรวจสอบค่า OEE อย่างสม่ำเสมอ
ระบบ MES ตัวช่วยคำนวณค่า OEE
ค่า OEE ต่ำไม่ใช่สิ่งที่ต้องตกใจเสมอไป เพราะระบบ MES (Manufacturing Execution System) เป็นระบบที่ช่วยในการจัดการและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานโดยเฉพาะ โดยค่า OEE และระบบ MES มีความสัมพันธ์กันคือ MES ช่วยในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ OEE อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยระบุและแก้ไขปัญหาในการผลิตได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้การปรับปรุง OEE และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสามารถทำได้อย่างดียิ่งขึ้น
ciMES ระบบ MES จาก ARES ช่วยคำนวณค่า OEE อัตโนมัติผ่านการรวบรวมข้อมูลการผลิตแบบเรียลไทม์ ทั้งจากเครื่องจักรและกระบวนการผลิตส่วนต่าง ๆ โดยระบบจะติดตามและบันทึกข้อมูลที่สำคัญในการคำนวณ 3 ปัจจัยหลักของ OEE ได้แก่ อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability), ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance) และอัตราคุณภาพ (Quality) เพื่อคำนวณค่า OEE ช่วยให้ตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ โดยไม่ต้องทำการคำนวณด้วยตนเอง
สรุปเกี่ยวกับ OEE
ค่า OEE คือค่าที่ช่วยวัดผลและบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของระบบการผลิตในองค์กรนั้น ๆ หากยิ่งมีค่า OEE สูง นั่นถือว่าการผลิตตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น แต่หากค่า OEE ต่ำ ผู้ประกอบการควรทำการปรับปรุงค่า OEE เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ฉะนั้น ciMES ระบบ MES จาก ARES เป็นระบบที่ช่วยดูแลจัดการ และวางแผนการผลิต โดยมีการแสดงผลค่า OEE ได้แบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องคำนวณเอง ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงการทำงานของเครื่องจักรและปัจจัยอื่น ๆ ในระบบได้อย่างตรงจุด
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th