เลือก MES แบบไหนดี พร้อมตารางเปรียบเทียบการใช้งาน
การแข่งขันด้านสายงานผลิต นับเป็นความท้าทายใหญ่ที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญไม่แพ้การวางแผนด้านการผลิต เพราะขั้นตอนการผลิตที่มีประสิทธิภาพย่อมให้ธุรกิจมีความมั่นคงอย่างแน่นอน และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ค่อย ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และระบบปฏิบัติการ MES คือหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่มีมีส่วนช่วยตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และต่อยอดธุรกิจให้สามารถพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดแบบที่หลายท่านอาจคาดไม่ถึง
ระบบ MES หมายถึงอะไร ?
ระบบ MES (Manufacturing Execution System) คือระบบปฏิบัติการสายงานการผลิตที่ถูกออกแบบขึ้น เพื่อทำให้การดำเนินงานสามารถทำได้ง่าย และช่วยยกระดับประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านการเชื่อมโยงระบบการทำงานทุกขั้นตอนการผลิตลงบนเครือข่ายออนไลน์ ทั้งการเก็บข้อมูล การจัดการกระบวนการผลิต และยังครอบคลุมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต
ความสำคัญของการใช้งานระบบ MES
ระบบ MES ถูกใช้งานเพื่อสร้างและควบคุมคุณภาพของ ระบบโรงงานใน Smart Industry และมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดของเสียเหลือใช้จากโรงงาน แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาการผลิต กำหนดต้นทุนอย่างมีขอบเขต และรวมไปถึงช่วยให้โรงงานสามารถบันทึกและเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
5 ขั้นตอนการเตรียมตัวติดตั้งระบบ MES ในโรงงาน
การติดตั้งระบบ MES System คือกระบวนการผลิตที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลและวางแผนการดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
-
วางแผนการดำเนินการ ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดระยะเวลา เป้าหมาย และต้นทุนที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการผลิต เพื่อช่วยให้การใช้งานระบบ MES สามารถพัฒนาการผลิตได้อย่างตรงจุด
-
ตั้งขอบเขตของโครงการ กำหนดขนาดและการใช้งานระบบ MES เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรและโรงงานให้ตรงจุด และป้องกันการทำงานของโรงงานที่เกินกำหนด
-
ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดโรงงาน รวบรวมรายละเอียดการดำเนินการผลิต เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าใจถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และสามารถยกระดับการทำงานเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาจุดอ่อนและระบุจุดที่ต้องการปรับปรุง
-
ฝึกอบรมพนักงาน จัดอบรมให้บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้องเข้าใจการใช้งานระบบ เพื่อสร้างความเข้าใจและลดข้อผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการผลิตส่วนต่าง ๆ
-
กำหนดขั้นตอนการทดสอบ วางแผน กำหนด และทดสอบการทำงานของระบบ MES ก่อนเริ่มต้นใช้งานจริง เพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิตสินค้า
ขนาดและรูปแบบระบบ MES ในโรงงานอุตสาหกรรม
ถึงแม้ว่าการติดตั้งระบบ MES คือขั้นตอนที่เปลี่ยนโฉมโรงงานอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมให้กลายเป็น โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) แต่การเลือกรูปแบบและขนาดของระบบ MES ที่เหมาะสมผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ นับเป็นกระบวนการที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญไม่แพ้การพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้
-
ขนาดของโรงงาน โรงงานขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ระบบ MES ที่สามารถควบคุมเครื่องจักรและกระบวนการผลิตได้อย่างทั่วถึง แต่อาจต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โรงงานจึงจำเป็นต้องแบ่งการติดตั้งระบบเป็นช่วงต่าง ๆ
-
ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต การจัดการเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย
-
จำนวนเครื่องจักร และความหลากหลายของเครื่องจักรแต่ละชนิด ต้องการระบบที่สามารถเชื่อมต่อและประมวลผลข้อมูลจากอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้
-
แรงงานในโรงงาน ต้องการระบบการปฏิบัติการ MES ที่ครอบคลุม เพื่อการทำงานที่สะดวก ง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ
-
การใช้งานระบบ MES ร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบ ERP, SCADA, PLC, HMI, Sensor และอื่นๆ ที่อาจมีการใช้งานก่อนหน้าอยู่แล้ว
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบ MES ขนาดต่าง ๆ
เมื่อเปรียบเทียบระบบ MES แต่ละขนาดจะพบว่ามีลักษณะการทำงาน เครื่องมือ ข้อควรพิจารณา และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนี้
ความแตกต่าง | ไม่มีระบบ MES | ระบบ MES ขนาดเล็ก | ระบบ MES ขนาดกลาง | ระบบ MES ขนาดใหญ่ |
ลักษณะการทำงาน | ใช้ระบบการผลิตรูปแบบเดิม จดบันทึกข้อมูลด้วย แรงงาน กระดาษ และโปรแกรมพื้นฐาน | ใช้ข้อมูลที่ถูกดึงจากเครื่องจักรภายในโรงงาน | ข้อมูลที่ใช้ถูกป้อนผ่านอุปกรณ์สู่เครือข่ายออนไลน์ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ | เชื่อมต่อการใช้งานและข้อมูลสู่ระบบต่าง ๆ เพื่อการสื่อสาร 2 ทาง |
เครื่องมือที่ใช้ | ERP/ Excel | PLC/ SCADA | Shopfloor | MES |
ข้อดี | ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ทุกเมื่อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย | ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเครื่องจักรได้พร้อมรับสัญญาณเตือนเมื่อมีปัญหา | ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะเครื่องจักร วัดประสิทธิภาพ และตรวจสอบข้อมูลที่แม่นยำจากระบบ • Tracking WO, machine status, OEE System | ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตและตอบสนองความต้องการของลูกค้า • Real time Tracking WO, machine status, OEE System • SPC Data |
ข้อควรพิจารณา | การทำงานไม่เป็นระบบ ข้อมูลที่ใช้อาจมีข้อผิดพลาด และไม่สามารถตรวจสอบได้ และอาจเกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน | มีฟังก์ชันจำกัด เช่น ข้อมูลเครื่องจักรไม่เชื่อมโยงกับ WO หรือ Part No. ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์และพัฒนาข้อมูลได้สำหรับระยะยาวได้ | การตัดสินใจอาจต้องลงไปดูหน้างานด้วยตัวเอง ข้อมูลไม่เรียลไทม์ ทำให้ต้องลงทุนเพิ่มในภายหลัง | ใช้ต้นทุนสูง ระบบมีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องวางแผนและดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างรัดกุม |
ค่าใช้จ่าย | ไม่มีต้นทุนการติดตั้งระบบ MES | น้อยกว่า 5 แสน ถึง 2 ล้านบาท | 2 ถึง 5 ล้านบาท | 5 ถึง 10 ล้านบาท |
บทสรุป การใช้งาน MES ในอุตสาหกรรมการผลิต
MES คือระบบปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาในโรงงานที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน และยกระดับโรงงานรูปแบบเดิม ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยีทันสมัย โดยครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผนงานผลิต การควบคุมเครื่องจักร การเก็บข้อมูลรายละเอียด และการวิเคราะห์ประเมินผล ซึ่งทำให้ผู้ประกอบสามารถเพิ่มขีดจำกัดสินค้าในธุรกิจของท่าน
ARES เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ที่ให้บริการการติดตั้งระบบปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ ERP ciMES MES Software Thailand ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 40 ปี เพื่อช่วยให้ธุรกิจของท่านปลดล็อกศักยภาพสู่ความสำเร็จ
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th