BOM คืออะไร ระบบ MES มีบทบาทในการจัดการ BOM อย่างไร
ในกระบวนการผลิตสินค้าเพียงหนึ่งชิ้น การจัดสรรวัตถุดิบ และระยะเวลาการผลิต นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการควรวางแผนและบริหารจัดการก่อนเริ่มต้นกระบวนการผลิต ซึ่งท่านสามารถเลือกใช้เครื่องมือเพื่อคำนวณและเก็บข้อมูลสินค้าได้อย่างหลากหลาย และ Bill of Materials (BOM) คือตัวช่วยที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นในวันนี้ เราจึงอยากพาทุกท่านไปรู้จักกับความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของ BOM พร้อมแนะนำระบบปฏิบัติการที่จะช่วยยกระดับการทำงานของ BOM เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
Bill of Materials (BOM) คืออะไร ?
Bill of Materials (BOM) หรือ บิลวัสดุ คือรายการวัสดุ สูตรการผลิต หรือ โครงสร้างสินค้า (Product Structure) 1 ชิ้น ที่ใช้แสดงข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้า ทั้งส่วนประกอบ จำนวนวัสดุที่ใช้ ลำดับการผลิต ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิต และระยะเวลาการผลิต ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการและ วางแผนการผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำไมการทำ BOM จึงจำเป็นต่อธุรกิจของคุณ ?
การแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้วยรายการ BOM ย่อมส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารการผลิต และควบคุมโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังช่วยให้เกิดผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น
สร้างความโปร่งใส
ระบบโรงงาน ในอดีตการบริการจัดการและการดำเนินการด้วยแรงงานมนุษย์ ทำให้กระบวนการผลิตอาจเกิดข้อผิดพลาด และมีความไม่โปร่งใสจากการทำงานของพนักงานหลายฝ่าย โดยเฉพาะการคำนวณราคาต้นทุนและเครื่องจักรที่อาจนำไปสู่ความผิดร้ายแรงที่ส่งผลต่อรายได้และกำไรของธุรกิจ
BOM คือเครื่องมือที่เข้ามาช่วยลดช่องว่างระหว่างสินค้าและที่มาของวัตถุดิบ ทั้งการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง หรือการคำนวณต้นทุนอย่างแม่นยำ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในระบบที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาที่มาของเงินทุนและพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลได้
ความแม่นยำในการผลิตสินค้า
การบริหารจัดการด้านกระบวนการผลิตคือหัวใจสำคัญ ที่ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการระบุโครงสร้างสินค้า BOM ทั้งในด้านชนิด คุณภาพ จำนวน และรายละเอียดเฉพาะอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการสั่งซื้อได้อย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนหรือสิ้นเปลืองวัตถุดิบ ซึ่งเชื่อมโยงไปยัง การควบคุมคุณภาพสินค้า และการดำเนินการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ
จัดการสินค้าคงคลังได้ดี
BOM มีส่วนช่วยด้านการจัดการสินค้าคงคลัง เลือกสรรวัตถุดิบ ควบคุมงบประมาณ และกำหนดระยะเวลาการผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินและพัฒนากระบวนการผลิต รวมไปถึงลดปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิต หรือมีจำนวนมากเกินไป
การบำรุงรักษาเครื่องจักร
BOM ช่วยให้พนักงานในโรงงานสามารถติดตามประวัติการใช้งานชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และลดระยะเวลาการซ่อมแซมเครื่องจักรผ่านการระบุชิ้นส่วนที่เสียหายได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้โรงงานสามารถสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ได้อย่างทันท่วงที
รองรับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์
โรงงานสามารถปรับปรุง BOM ได้อย่างง่ายดาย หากรูปแบบสินค้าหรือออเดอร์มีการเปลี่ยนแปลง การระบุ BOM ที่ชัดเจนยังช่วยให้การออกแบบและผลิตสินค้าใหม่สามารถทำได้อย่างราบรื่น และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
8 องค์ประกอบสำคัญที่ควรมีใน BOM
เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นถึงข้อมูลและกระบวนการผลิตสินค้าได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โรงงานควรบันทึกข้อมูลและรายละเอียดของชิ้นส่วนอย่างครบถ้วน โดยแบ่งเป็น 8 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. หมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) หมายถึง ID หรือหมายเลขของส่วนประกอบ อ้างอิงชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
2. ชื่อชิ้นส่วน (Part Name) หมายถึง ชื่อเรียกของส่วนประกอบ ช่วยระบุชิ้นส่วนแต่ละชิ้นอย่างชัดเจนและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้วัตถุดิบ
3. รายละเอียด (Description) หมายถึง คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของชิ้นส่วน ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการระบุชิ้นส่วน
4. ปริมาณ (Quantity) หมายถึง จำนวนของวัสดุและชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการผลิตสินค้า ช่วยให้สามารถคำนวณงบประมาณและจัดเตรียมวัตถุดิบได้เพียงพอต่อความต้องการ
5. หน่วยวัด (Unit of Measure) หมายถึง หน่วยวัดชิ้นส่วนของสินค้า แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ น้ำหนักและขนาดของชิ้นส่วน มีส่วนช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า
6. ลำดับชั้น BOM (BOM Level) หมายถึง ลำดับขั้นตอนการผลิตสินค้าโดยใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อให้แรงงานสามารถเข้าใจถึงกระบวนการผลิตได้ดียิ่งขึ้น แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
-
ระดับ 0 ผลลัพธ์สุดท้ายของการผลิต โดยใช้วัสดุจากระดับ 1 และ 2 ประกอบเข้าด้วยกัน
-
ระดับ 1 ชิ้นส่วนที่ถูกผลิตขึ้นจากระดับ 2 เพื่อประกอบขึ้นเป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่
-
ระดับ 2 การใช้องค์ประกอบรายย่อยของสินค้าที่ยังไม่ถูกผลิตขึ้น เพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนขนาดกลาง
7. ราคา (Price) หมายถึง ต้นทุนของชิ้นส่วน ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุน ราคาวางจำหน่าย และกำไรของสินค้าได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
8. กระบวนการจัดซื้อจัดหา (Method of Procurement) หมายถึง รายละเอียดที่บ่งบอกถึงที่มาของชิ้นส่วน แบ่งเป็นการผลิตภายในโรงงานและรับซื้อจากบริษัทอื่น ๆ
การประยุกต์ใช้ระบบ MES สามารถช่วยเหลือ BOM อย่างไร
MES คือระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งเพื่อยกระดับโรงงานทั่วไปให้กลายเป็น โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Industry ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการผลิต การจัดสรรวัตถุดิบ และการควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าภายในโรงงานของท่าน
ผู้อ่านหลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า ระบบ MES มีส่วนช่วยด้านการจัดการวัตถุดิบด้วย BOM ได้อย่างไร ? คำตอบคือ ระบบ MES นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยบันทึก และเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าแบบเรียลไทม์ โดยการใช้งาน ciMES เพื่อการจัดการ BOM ครอบคลุมตั้งแต่ การบันทึกข้อมูลใบสั่งซื้อจากลูกค้า การคิดราคาสินค้า การคำนวณวัตถุดิบให้ตรงกับ BOM การบันทึกข้อมูลใบสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติม การตัดสินใจเลือกใช้เครื่องจักรเพื่อการผลิต ซึ่งสามารถแบ่งฟังก์ชันการทำงานเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
-
ค้นหารายการ WIP
-
การติดตามการผลิต
-
การบริหารจัดการองค์ประกอบการผลิต
-
คำแนะนำหน้าที่งานการผลิต
-
คำแนะนำมาตรฐานการผลิต
ซึ่งหากท่านสนใจข้อมูลการติดตั้งระบบ ciMES เพื่อจัดการรายการบิลวัสดุ (BOM) รูปแบบเต็ม สามารถติดต่อเราได้ที่นี่ค่ะ
บทสรุป ใช้ BOM ในกระบวนการผลิตในโรงงาน
Bill of Materials (BOM) หรือ โครงสร้างสินค้า (Product Structure) ไม่ได้เป็นเพียงรายการวัสดุที่ถูกเขียนขึ้นเท่านั้น แต่คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของกระบวนการผลิตสินค้าภายในโรงงาน ที่ช่วยทำให้โรงงานของท่านสามารถควบคุมมาตรฐานการผลิตสินค้าทุกชิ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน ทั้งการเลือกสรรวัตถุดิบที่เหมาะสม ลดความผิดพลาดระหว่างกระบวนการผลิต และควบคุมงบประมาณที่ใช้ เพื่อสร้างรากฐานให้กับธุรกิจในระยะยาว
ARES เราคือบริษัทที่ให้บริการติดตั้งซอฟต์แวร์ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อการผลิต พร้อมประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 40 ปีในหลากหลายธุรกิจ เราให้บริการติดตั้ง MES Software Thailand เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณ
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th