การใช้ (WMA) กับกิจการอุตสาหกรรม
การใช้ Weighted Moving Average (WMA) กับกิจการอุตสาหกรรม สูตรการคิดต้นทุนสินค้าคงคลัง คือ
ต้นทุนหรือจำนวนงวดที่ผ่านมา คือ การยกยอดมาจากงวดที่แล้ว
ต้นทุนหรือจำนวนสินค้าที่เข้าคงคลังงวดปัจจุบัน ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
(เพิ่ม) ซื้อสินค้าเข้าคลัง (ลด) นำสินค้าออกคลังเพื่อส่งคืน หรือ ส่วนลดที่ได้จากการซื้อ
-
(เพิ่ม) ผลิตเข้าคลัง (ลด) เบิกวัตถุดิบ
-
(เพิ่ม) ลูกค้าคืนสินค้า (ถ้าเคยบันทึกต้นทุนของสินค้าชิ้นนั้นตามงวดนั้นๆแล้ว ต้นทุนของสินค้าที่ลูกค้าคืนต้องบันทึกลงใน Weighted Monthly Average)
-
อื่นๆ เช่น การเปลี่ยนสินค้า(ทั้งชุด หรือ บางส่วน) วัตถุดิบที่เบิกโดยแผนกต่างๆแล้วขอส่งกลับคืน ค่าต้นทุนที่กำหนดเอง การปรับจำนวนสินค้าคงคลัง เป็นต้น
การผลิตเข้าสินค้าคงคลังนอกจากต้นทุนวัตถุดิบแล้วยังรวมไปถึงค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามจำนวนผลิต
ค่าแรง อ้างอิงจาก ใบเรียกเก็บค่าแรง ค่าล่าช้า ค่าเสื่อมสภาพ เงินเดือนพนักงาน และการเบิกใช้จากแต่ละแผนก เป็นต้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่เกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อมขึ้นอยู่กับการจัดสรรค่าใช้จ่าย และนี่คือเหตุผลที่กิจการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเลือกใช้ Weighted Monthly Average Cost
ทุกๆสิ้นเดือนจะมีการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบหนึ่งครั้ง โดยไม่เลือกใช้วิธี Weighted Moving Average (WMA) ก็เพราะว่า ค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆมักจะทราบตัวเลขที่แท้จริงตอนสิ้นเดือน นอกจากนั้น Weight Share ที่ถูกจัดสรรไปยังใบคำสั่งต่างๆ ก็ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน
Weighted Moving Average (WMA) จะคำนวณจำนวนและต้นทุนคงเหลือคงคลังทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายหรือทำรับเข้าคงคลัง เพื่อคำนวณราคาเฉลี่ยต่อหน่วยใหม่แล้วนำมาใช้เป็นฐานการคำนวณสำหรับการคิดเมื่อมีการเบิกคงคลังในรอบถัดไป ทุกครั้งที่มีใบคำสั่งให้ทำรับสินค้าคงคลัง และไม่ได้รับค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆทันเวลา เมื่อเติมเข้าไปสำหรับการคำนวณ Weighted Moving Average (WMA) จะส่งผลให้ข้อมูลต้นทุนการผลิตคลาดเคลื่อน ดังนั้นเมื่อกิจการอุตสาหกรรมจะคำนวณ Weighted Moving Average (WMA) ต้องจัดการเรื่องการเบิกรับเขาสินค้าคงคลังให้เรียบร้อย และให้คำนวณค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่นๆลงใน Moving Cost ให้เรียบร้อย จึงจะสามารถทำข้อมูลต้นทุนได้อย่างครบถ้วน หลีกเลี่ยงปัญหากรณีข้อมูลต้นทุนคลาดเคลื่อน
ดังนั้น เมื่อต้องการใช้ Weighted Moving Average (WMA) เป็นฐานในการคำนวณ ให้พิจารณาถึงลักษณะของอุตสาหกรรม รวบรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในอดีตและข้อมูลชั่วโมงการทำงานเป็นแม่แบบมาตรฐานสำหรับคำนวณค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทุกครั้งที่มีการทำรับเข้าสินค้าคงคลังให้บันทึกว่ามีการทำงานทันที แล้วนำข้อมูลชั่วโมงการทำงานและมาตรฐานการคำนวณชั่วโมงทำงานมาคำนวณจำนวนเงินค่าแรงสำหรับจำนวนที่ทำเข้าคงคลังในครั้งนั้นๆ พร้อมกับนำต้นทุนวัตถุดิบมาคำนวณร่วมกับการคำนวณต้นทุน Weighted Moving Average (WMA) ด้วย
เมื่อถึงสิ้นเดือนให้นำจำนวนเงินค่าแรงคาดการณ์ประจำเดือนนั้นมาเทียบกับจำนวนเงินค่าแรงที่เกิดขึ้นจริงในเดือนนั้น พร้อมจดบันทึกจำนวนเงินที่แตกต่างเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป ในขณะเดียวกันจำนวนที่เกิดขึ้นจริงพร้อมยอดเงินที่เบิกออกจากคงคลังให้นำยอดเงินที่ปรากฏผลต่างบันทึกลงในต้นทุนสินค้าขายหมวดอื่นๆตามสัดส่วน
นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง Weighted Moving Cost รับข้อมูลเรื่องยอดค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่นๆไม่ทันท่วงทีแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาค่าต่างของยอดเงินที่เกิดขึ้นจริงกับยอดเงินคาดการณ์ได้อีกด้วย และยังสามารถทำให้ตารางวิเคราะห์ต้นทุน(เช่น ตารางสต็อกสินค้า ตารางต้นทุนการประกอบการ) สอดคล้องกัน
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสามารถสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th