QA QC คืออะไร ต่างกันอย่างไร สัมพันธ์กับ SPC อย่างไร
ในกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งนั้น คุณภาพสินค้านับเป็นปัจจัยสำคัญที่กลุ่มลูกค้าใช้พิจารณาเพื่อเลือกซื้อสิ่งที่ต้องการ ซึ่งทางผู้ประกอบการควรควบคุมคุณภาพสินค้าและขั้นตอนการผลิตอย่างมีมาตรฐาน ผ่านระบบการตรวจสอบในโรงงานอุตสาหกรรมที่เรียกว่า การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การทำงานของทั้งสองสิ่งนี้ส่งผลอย่างไร มีความสัมพันธ์กับฝั่งของ Statistical Process Control (SPC) มากแค่ไหนกันแน่ สามารถหาคำตอบเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
QA และ QC คืออะไร?
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) คือขั้นการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งมีแนวทางการทำงาน และการวัดผลตามจุดประสงค์ของแต่ละกระบวนการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความแตกต่าง | Quality Assurance (QA) | Quality Control (QC) |
วัตถุประสงค์ | มุ่งเน้นการวางแผนการผลิต เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในกระบวนการ | มุ่งเน้นการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ไขมาตรฐานสินค้า |
ลักษณะการทำงาน | กำหนดมาตรฐานระบบผลิตผ่านออกแบบเอกสาร ควบคุมขั้นตอนการทำงาน และอบรมพนักงาน | ทดสอบและตรวจสอบสินค้าที่ถูกผลิตผ่านการวัดค่าและทดสอบผลิตภัณฑ์ |
ช่วงเวลาดำเนินการ | ดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาก่อนกระบวนการผลิต | ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพระหว่างและหลังกระบวนการผลิต |
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) คืออะไร ?
Quality Assurance (QA) หรือ การประกันคุณภาพ นับเป็นขั้นตอนสำคัญของ อุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อการันตีคุณภาพสินค้าว่ามีคุณสมบัติที่ถูกต้องและตรงข้อกำหนด และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์หรือองค์กร ผ่านกระบวนการป้องกัน ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาสินค้า โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญที่เรียกว่า เจ้าหน้าที่ QA
ความสำคัญของ QA
สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) มีส่วนช่วยให้องค์กรของท่านได้รับผลประโยชน์จากหลายแง่มุม อีกทั้งยังช่วยสร้างความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้า ปกป้องข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจในระยะยาว
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) คืออะไร ?
Quality Control (QC) หรือ การควบคุมคุณภาพ คือหนึ่งในขั้นตอนการประกันคุณภาพและ กระบวนการผลิต ที่มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบ บำรุงรักษา และปรับปรุงมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่คุณภาพ และปริมาณสินค้า รวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
ความสำคัญของ QC
การวางแผนและควบคุมการผลิต ผ่านกระบวนการด้าน QC ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมั่นใจได้ว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ซึ่งถูกจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ เพราะผู้เชี่ยวชาญด้าน QC คือพนักงานซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอน ทั้งวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ซึ่งถูกจำหน่ายไปยังกลุ่มลูกค้า
การควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) ด้วย QA และ QC
การควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) เป็นเครื่องมือการรักษาระดับคุณภาพสินค้า ระบบผลิต ที่ถูกใช้งานเพื่อตรวจสอบความมั่นคงทางกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถทำได้ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพสินค้า
รู้จักกับ Statistical Process Control
Statistical process control (SPC) หรือ การควบคุมกระบวนการทางสถิติ คือวิธีการที่มีจุดประสงค์เพื่อการควบคุมคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แผนภูมิควบคุม (Control Chart) เข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตส่วนต่าง ๆ เช่น
-
ตรวจสอบความต่อเนื่องและความแม่นยำในกระบวนการผลิต
-
ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากกระบวนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
-
ค้นหาสาเหตุและการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินค้า
หลักการทำงานของ SPC
หลักการทำงานของการควบคุมกระบวนการทางสถิติ หรือ SPC สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่
-
เก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลที่สำคัญในกระบวนการผลิต เช่น ขนาด น้ำหนัก ค่าความต้านทาน หรือค่าอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติ
-
สร้างแผนภูมิควบคุม นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาสร้างแผนภูมิควบคุม เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตในช่วงเวลาต่าง ๆ
-
วิเคราะห์แผนภูมิ เพื่อตรวจสอบสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหา ทำให้พนักงานสามารถวิเคราะห์สาเหตุและปรับปรุงกระบวนการเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ประเภทของแผนภูมิควบคุม SPC
ในระบบการควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) มีแผนภูมิควบคุมหลายประเภทที่ใช้เพื่อติดตามและวิเคราะห์กระบวนการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่ใช้ ได้แก่
-
แผนภูมิ X-bar และ R chart แจกแจงข้อมูลด้านตัวเลข เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตที่มีการวัดค่าที่หลากหลายในแต่ละตัวอย่าง และมีส่วนช่วยด้านการตรวจสอบปัญหาในกระบวนการผลิต
-
X-bar Chart ติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ย
-
R Chart ติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านการกระจายข้อมูล
-
-
แผนภูมิ p chart ข้อมูลเชิงกลุ่มตัวอย่างที่แสดงค่าเป็นอัตราส่วนของสิ่งที่เกิดขึ้น ถูกใช้ในกระบวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละกลุ่ม
-
แผนภูมิ c chart ข้อมูลเชิงกลุ่มตัวอย่างที่แสดงค่าเป็นจำนวนความผิดพลาด ถูกใช้งานเพื่อควบคุมจำนวนข้อบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต
QA QC กับ การควบคุมกระบวนการทางสถิติ SPC
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) คือกระบวนการตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการดำเนินการผลิต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายระยะยาว
โดยสรุปแล้ว QA QC และการควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) คือกระบวนการควบคุมคุณภาพสินค้าที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านจุดประสงค์ และการทำงาน โดย
-
การประกันคุณภาพ (QA) คือขั้นตอนที่มุ่งเน้นด้าน การวางแผนการผลิต และป้องกันข้อผิดพลาด ผ่านการกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบ เช่น การกำหนดมาตรฐานความแข็งของชิ้นส่วนโลหะ
-
การควบคุมคุณภาพ (QC) คือขั้นตอนที่มุ่งเน้นด้านการตรวจสอบและแก้ไขสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน ผ่านการกำหนดมาตรฐานของสินค้า เช่น การตรวจสอบความแข็งของชิ้นส่วนโลหะแต่ละชิ้น
-
การควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) คือขั้นตอนที่มุ่งเน้นการใช้สถิติในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการสร้างแผนภูมิควบคุม เช่น การสร้างแผนภูมิควบคุมเพื่อติดตามความผันแปรของความแข็ง และวิเคราะห์สาเหตุของความผันแปรที่เกิดขึ้น
โดยในฐานะผู้ประกอบการ การพัฒนากระบวนการส่วนดังกล่าวด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่าง โปรแกรมควบคุมกระบวนการทางสถิติ สามารถช่วยวิเคราะห์แผนการผลิต ลดขั้นตอนกระบวนการ แก้ไขปัญหาด้านความซับซ้อน และป้องกันข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตสินค้า จึงนับเป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ข้อสรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมคุณภาพ
เทคโนโลยีในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมหลายแห่งเลือกใช้งาน ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยลดระยะเวลาการผลิตหรือเพิ่มจำนวนสินค้าในแผนงานผลิตได้เท่านั้น แต่เครื่องมือเหล่านี้ยังเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นภายใต้ขั้นตอนที่เรียกว่า การประกันคุณภาพ (QA) การควบคุมคุณภาพ (QC) และการควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) โดยใช้ MES System เพื่อการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์คุณภาพในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
ARES บริษัทความเชี่ยวชาญด้านระบบซอฟต์แวร์ เราให้บริการการติดตั้งระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ ERP ระบบ MES หรืออื่น ๆ เพื่อยกระดับโรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจเข้าสู่แผนงานอุตสาหกรรมการผลิตยุค 4.0 ด้วยบุคลากรคุณภาพที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 40 ปี ในหลากหลายธุรกิจ
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th