6 Steps ปรับการทำงานสู่ “โรงงานอัจฉริยะ” สรุปครบ จบในที่เดียว

 

ในยุคที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น นับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำเพื่อยกระดับธุรกิจของท่านกลายเป็น โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) อย่างเต็มรูปแบบ และทำให้สินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาดสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร้ที่ติ

การปรับเปลี่ยนโรงงานรูปแบบเดิมให้กลายเป็น โรงงานอัจฉริยะ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมตัวและปรับการทำงานด้วยขั้นตอนที่เป็นระบบ จึงนับเป็นวิธีที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจของท่านได้

โรงงานอัจฉริยะ

โรงงานอัจฉริยะ กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

โรงงานอัจฉริยะ หรือSmart Factoryคือการปฏิวัติทาง อุตสาหกรรมการผลิต ที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมให้สามารถก้าวทันโลกยุคใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ภายใต้การดำเนินงานอย่างราบรื่นโดยใช้แรงงานมนุษย์น้อยลง ผ่านองค์ประกอบ 4 ส่วนดังนี้

  • เชื่อมต่อ ข้อมูลเครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบต่าง ๆ ภายในโรงงานด้วยระบบออนไลน์

  • เก็บข้อมูล วิเคราะห์รูปแบบเรียลไทม์ เพื่อการตัดสินใจที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

  • คำนวณ ประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

  • ทำงานร่วมกัน ระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และระบบปฏิบัติการ ลดความซับซ้อนในกระบวนการผลิต

ความสำคัญของการพัฒนาโรงงานสู่ Smart Factory

นอกเหนือจากการพัฒนาประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิตซึ่งเป็นผลประโยชน์สำคัญที่โรงงานจะได้รับเมื่อเข้าสู่การทำงานรูปแบบโรงงานอัจฉริยะ การวางแผนการผลิต และการบริหารองค์กรในอุตสาหกรรมจัดการยังเป็นอีกข้อดีที่จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจของท่าน มีความแตกต่างจากโรงงานหลายแห่ง เพราะการทำงานในรูปแบบโรงงานอัจฉริยะ ช่วยทำให้การทำงานในทุกกระบวนการง่ายดายกว่าที่เคยเป็น ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผ่านการควบคุมกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทำให้โรงงานสามารถเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น

  • ลดต้นทุนในระยะยาว ผ่านขั้นตอนที่ช่วยลดงบประมาณต่าง ๆ เช่น ของเสียจากการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ พลังงาน หรือค่าใช้จ่ายจากความผิดพลาดในกระบวนการผลิต

  • สินค้ามีคุณภาพ ด้วยมาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการควบคุมคุณภาพสินค้าผ่านระบบอัตโนมัติที่มีความแม่นยำ ช่วยลดอัตราการเคลมสินค้าคืน

  • ปลอดภัยและความยั่งยืน ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดระหว่างกระบวนการผลิต

ระบบเทคโนโลยีเพื่อการผลิต

6 ขั้นตอน ปรับเปลี่ยนการทำงาน เพื่อยกระดับธุรกิจสู่โรงงานอัจฉริยะ

การปรับเปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมให้กลายเป็น Smart Factory ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของผู้ประกอบการ แต่ด้วยความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในปัจจัยแต่ละข้อ อาจทำให้ท่านจำเป็นต้องเริ่มต้นเตรียมตัว และปฏิบัติตามขั้นตอน 6 ข้อดังต่อไปนี้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมสู่โรงงานอัจฉริยะ

  1. การประเมินกระบวนการทำงานของโรงงาน

การประเมินความสามารถและกระบวนการทำงานของโรงงาน คือจุดเริ่มต้นสำหรับการปรับเปลี่ยนโรงงานสู่ Smart Factory เพื่อการวางแผนพัฒนา ระบบผลิต ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการประเมิน 2 ส่วน ได้แก่

  • ความสามารถปัจจุบัน ระบบผลิต กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่เดิม

  • วัตถุประสงค์ และการกำหนดเป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการพัฒนา เช่น การลดระยะเวลาผลิต ลดของเสียเหลือใช้ หรือเพิ่มคุณภาพสินค้า

ข้อควรระวัง ‘ความไม่ชัดเจน ความลังเล และข้อมูลที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้การประเมินโรงงานเพื่อพัฒนาการผลิตไม่เห็นผลได้’

  1. การวางแผนงบประมาณเพื่อการลงทุน

การคำนวณงบประมาณ และวางแผนการลงทุนย่อมมีส่วนช่วยในการยกระดับโรงงานอัจฉริยะในขนาดที่เหมาะสมได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงระบบโรงงานที่มากหรือน้อยเกินความจำเป็น อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจระยะยาว

เพราะการปรับเปลี่ยนโรงงานสู่ Smart Industry ทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนใหญ่ ผู้ประกอบการจึงควรจัดทำงบประมาณสำหรับการลงทุนเพื่อการบำรุงรักษาโรงงานอย่างต่อเนื่อง และพลิกโฉมโรงงานอัจฉริยะ ผ่านการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนอย่างเหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อการติดตั้งเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจมากที่สุด

ข้อควรระวัง ‘การวางแผนงบประมาณที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจระยะยาว’

  1. การติดตั้งระบบเทคโนโลยีเพื่อการผลิต

ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เช่น MES System ที่มีส่วนช่วยด้านการตรวจสอบและการบูรณาการข้อมูลจากเครื่องจักรและแผนกงานต่าง ๆ ในรูปแบบเรียลไทม์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการตัดสินใจที่เหมาะสม

ข้อควรระวัง ‘ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมองค์กรหลังติดตั้งระบบใหม่ และสร้างมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้การเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบปฏิบัติการเดิมเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุด’

ฝึกอบรมบุคลากร

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

การปรับปรุง พัฒนากระบวนการผลิตด้วยการผสาน ระบบอัตโนมัติ ระบบ ERP และ ระบบ MES เข้าด้วยกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามการทำงาน การกำหนดระยะเวลา และประเมินผลการทำงานแบบเรียลไทม์ ย่อมส่งเสริมภาพรวมของธุรกิจให้สอดคล้องกับการทำงานของโรงงานอัจฉริยะยุคสมัยใหม่ได้

ข้อควรระวัง ‘ระบบการทำงานรูปแบบเดิม อาจเป็นอุปสรรคด้านการใช้งานเทคโนโลยีและยังส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลได้’

  1. การฝึกอบรมและบริหารจัดการบุคลากร

เมื่อผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องกับโรงงานอัจฉริยะอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การฝึกอบรมพนักงาน คือส่วนสำคัญที่ช่วยให้บุคลากรสามารถใช้งานระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม และการเชื่อมโยงข้อมูลบุคลากรด้วย ระบบ ERP และ MES ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

ข้อควรระวัง ‘พนักงานที่ขาดทักษะจำเป็นในการใช้เทคโนโลยี อาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดระหว่างการทำงาน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายด้าน’

  1. การปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

นอกจากการพัฒนาการทำงานเพื่อพลิกโฉมสู่โรงงานอัจฉริยะ การติดตามผลและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมความมั่นคงของธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งการตรวจสอบระบบหลังติดตั้งการทำงาน การวัดผลจากตัวชี้วัดที่แม่นยำ ปรับขนาดและผสานรวมเทคโนโลยีอื่น ๆ เพิ่มเติม คือการดำเนินงานที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

ข้อควรระวัง ‘การขยายขนาดระบบผลิตอาจจำเป็นต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมาก เพื่อสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ’

บทสรุป พัฒนาโรงงานอัจฉริยะด้วยระบบปฏิบัติการเพื่อการผลิต

กระบวนการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่โรงงานอัจฉริยะอาจมีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาระบบโรงงานรูปแบบเดิม ผู้ประกอบการหลายท่านจึงจำเป็นต้องศึกษาระบบปฏิบัติการที่ใช้อย่างรอบคอบ ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน และอุปสรรคระหว่างการดำเนินการ เพื่อให้สามารถเลือกติดตั้งระบบปฏิบัติการที่เหมาะสม ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อพัฒนากระบวนการผลิต

ARES เราเป็นบริษัทผู้นำด้านซอฟต์แวร์ที่ให้บริการการติดตั้ง MES system ArgoERP และระบบปฏิบัติการ อื่น ๆ เพื่อพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ และยกระดับธุรกิจของท่านให้ก้าวข้ามขีดจัดกัดด้านการแข่งขัน สร้างผลกำไรที่ตรงตามเป้าหมาย และเสริมความมั่นคงในการเติบโตของโรงงาน

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us

หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง 
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th