ROI คืออะไร มีสูตรคำนวณแบบไหน สำคัญกับระบบผลิตอย่างไรบ้าง
สำหรับผู้ประกอบการ การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) คือหัวใจสำคัญที่พวกเขาใช้สำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อสร้างกำไรและความสำเร็จในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการแข่งขันสูง ROI กลายเป็นดัชนีชี้วัดที่ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมของผลตอบแทนจากการลงทุนในหลายด้าน ตั้งแต่กระบวนการผลิต เครื่องจักร ไปจนถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งเข้ามาช่วยพัฒนาการทำงานในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร
นอกจากนี้ การคำนวณและวิเคราะห์ ROI ที่ถูกต้องและรอบคอบ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริหารทรัพยากรและลดต้นทุนได้อย่างเหมาะสม และผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นใจ
ROI คืออะไร ? มีความสำคัญกับกระบวนการผลิตอย่างไร ?
ROI (Return on Investment) คือ ตัวเลขชี้วัดผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพิจารณาความคุ้มค่าจากเงินลงทุนในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ ผ่านการคำนวณจากกำไรสุทธิที่เปรียบเทียบกับต้นทุนทั้งหมด เพื่อแสดงถึงผลตอบแทนที่มีโอกาสได้รับในแง่ความคุ้มค่า และนำไปสู่การสร้างกำไรระยะยาว
ความสำคัญของ ROI
การทำความเข้าใจ ROI คือสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างผลกำไรจากธุรกิจในระยะยาว เพราะตัวเลข ROI ไม่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านสามารถวิเคราะห์แนวทางการลงทุนและการปรับปรุงกลยุทธ์ในหลากหลายมิติ เช่น
-
วัดความสำเร็จในธุรกิจ ทำให้ผู้บริหารสามารถติดตามผลการดำเนินงานและปรับกลยุทธ์ของธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ เช่น การเพิ่มยอดขาย การลดต้นทุน หรือการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในอุตสาหกรรมการผลิต
-
แนะนำการตัดสินใจการลงทุน ช่วยส่งเสริมและประเมินความคุ้มค่าด้านการลงทุนซอฟต์แวร์เพื่อการทำงาน คำนวณและวิเคราะห์ช่วงเวลาคืนทุน พร้อมทั้งลดความเสี่ยงด้านลงทุนที่อาจเกิดผลกระทบหรือไม่สร้างผลกำไรที่ดี
-
ปรับปรุงกระบวนการผลิต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เหมาะสมในแต่ละส่วน เช่น การวัดประสิทธิภาพเครื่องจักร การจัดการทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หรือการฝึกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มทักษะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
สูตรการคำนวณ ROI
ROI = ((รายได้ – ต้นทุนทั้งหมด) / ต้นทุนทั้งหมด) x 100
รายได้ คือ ผลตอบแทนที่ได้จากการดำเนินธุรกิจทั้งหมด
ต้นทุนทั้งหมด คือ เงินทุนทั้งหมดที่ใช้สำหรับการลงทุนในโครงการนั้น
ในบางครั้ง ท่านอาจพบว่าการคำนวณ ROI ก็จะเป็นการคิดจากผลกำไรสุทธิเลยตรงๆ แต่พื้นฐานการคำนวณนั้นยังอ้างอิงจากเดิม ที่ต้องคำนวณหากำไรจากการหักลบรายได้ และการลงทุนก่อนนั่นเอง
ROI = (กำไรสุทธิ / ต้นทุนทั้งหมด) x 100
กำไรสุทธิ = รายได้ – ต้นทุนทั้งหมด
ROI ได้ถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม แต่ที่สามารถพบเห็นได้ชัดเจน คือการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น กองทุน การคำนวณ ROI ในการทำการตลาด และการใช้งาน ROI เพื่อตรวจสอบความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยในที่นี้เราจะใช้งานสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเป็นหลัก
การวิเคราะห์ค่า ROI
การวิเคราะห์ ROI ไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงผลกำไรของธุรกิจที่ลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถบ่งบอกถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ทางธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น
-
ROI สูง คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี หากใช้งานในโรงงาน มักแสดงถึงการจัดการระบบโรงงาน การบริหารทรัพยากร และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ
-
ROI ต่ำ แสดงถึงการลงทุนให้ผลตอบแทนต่ำ อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รอบด้าน เช่น การจัดการทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม หรือปัญหาด้านกระบวนการผลิตที่ไม่ได้รับการแก้ไข
-
ROI เท่ากับ 0 การลงทุนที่ไม่มีผลกำไรหรือขาดทุน ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินงานที่ไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ
สำหรับระบบผลิตแล้ว สิ่งที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ROI มากที่สุดคือการคำนวณต้นทุนการลงทุน หากมีการทำงานระบบผลิตที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนระยะยาวนั้นลดลง เสริมให้ ROI โดยรวมนั้นสูงขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน ROI ในธุรกิจ
ROI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม ทั้งในด้าน กระบวนการผลิต หรือค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุน เพื่อให้แบรนด์สามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผ่านการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน
ตัวอย่างการคำนวณเบื้องต้น
ก่อนใช้ระบบ
การลงทุนในโรงงานผลิต A มีต้นทุนอยู่ที่ 500,000 บาท ต่อเดือน สามารถสร้างรายได้ที่ 750,000 บาทต่อเดือน จะสามารถแทนค่าในสูตรเพื่อคิด ROI ได้ดังนี้
ROI = ((รายได้ – ต้นทุนทั้งหมด) / ต้นทุนทั้งหมด) x 100
ROI = ((750,000-500,000)/500,000) x 100
ROI = 50%
หลังใช้ระบบ
ดังที่กล่าวว่า การปรับปรุงระบบต่างๆ ในโรงงาน อาจมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนระยะยาว ดังนั้นถ้าหากลองคำนวณค่า ROI ในกรณีที่โรงงาน A นำระบบปฏิบัติการเข้ามาช่วยในกระบวนการอุตสาหกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและค่าเอกสารได้ 50,000 บาทต่อเดือน
กรณีนี้ต้นทุนทั้งหมด คือ 500,000 - 50,000 = 450,000 (หักค่าใช้จ่ายด้านใช้งานบุคลากรและค่าเอกสาร)
เมื่อแทนค่าในสูตรจึงเท่ากับ
ROI = ((รายได้ – ต้นทุนทั้งหมด) / ต้นทุนทั้งหมด) x 100
ROI = ((750,000-450,000)/450,000) x 100
ROI = 66%
นี่เป็นตัวอย่างการคำนวณ ROI ที่สามารถมองเห็นภาพได้ง่ายดายมากที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่ท่านขาดไม่ได้สำหรับการทำงานในธุรกิจ คือการ “เก็บข้อมูล” เพื่อนำมาคำนวณ ROI และใช้งานข้อมูลทั้งหมดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อสั่งการ การตัดสินใจ และการลงทุนต่างๆ ในอนาคต
ดังนั้นสำหรับภาคธุรกิจและโรงงาน ที่มีการลงทุนตั้งแต่ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องมีตัวช่วยสำคัญในการคำนวณและเก็บข้อมูลเหล่านี้ เพื่อความคุ้มค่าของการลงทุนในอนาคต ซึ่ง MES และ ERP ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
ถ้าหากท่านอยากทราบว่า การลงทุนด้านระบบปฏิบัติการเหล่านี้ช่วยเพิ่มค่า ROI ได้มากแค่ไหน ท่านสามารถติดต่อเราเพื่อให้เราช่วยคำนวนเบื้องต้นเพียง คลิก
การใช้ระบบปฏิบัติการ MES และ ERP เพื่อเพิ่ม ROI ในกระบวนการผลิต
ในโลกยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมรูปแบบใหม่และการพัฒนาที่รวดเร็ว ระบบ MES และ ERP ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ผ่านการพัฒนาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อ ROI ในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างทันท่วงที
ระบบ MES
Manufacturing Execution System (MES) ซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยควบคุมและติดตามกระบวนการผลิตในโรงงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มค่าตัวเลข ROI ในหลากหลายด้าน เช่น
-
ลดต้นทุน ลดของเสียในระบบผลิต ผ่านการตรวจสอบกระบวนการทำงานแบบเรียลไทม์ ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำด้านการใช้วัตถุดิบ
-
เพิ่มผลผลิต ลดเวลาหยุดทำงานของเครื่องจักรด้วยระบบแจ้งเตือนด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนแผนการผลิตให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อที่ได้รับ
-
การควบคุมคุณภาพสินค้า ติดตามและบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้สินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาดตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
-
ลดต้นทุนงานเอกสาร เปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลบนกระดาษให้อยู่ในระบบดิจิทัลซึ่งมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากขึ้น
-
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ทำให้ธุรกิจสามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างตรงเวลาและมีมาตรฐานเดียวกันในทุกรอบการผลิต
ระบบ ERP
Enterprise Resource Planning (ERP) ระบบที่ช่วยรวบรวมข้อมูลจากการทำงานทุกภาคส่วนของธุรกิจ เช่น การเงิน การจัดการสต๊อก และการผลิต เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์หลายส่วน เช่น
-
ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัว และเชื่อมต่อข้อมูลกันจากทุกฝ่าย
-
จัดการสินค้าคงคลัง ใช้ ERP เพื่อการจัดการสินค้าในสต๊อก ลดสินค้าค้างสต๊อก และเพิ่มกระแสเงินสดในธุรกิจ
-
ลดต้นทุนด้านการจัดการ โดยเฉพาะการเปลี่ยนการทำงานบนเอกสารสู่ข้อมูลบนเครือข่ายดิจิทัล และช่วยให้หน่วยงานทุกฝ่ายทำงานได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
-
วิเคราะห์ข้อมูล ซอฟต์แวร์ให้ข้อมูลเชิงลึก เช่น แนวโน้มตลาด หรือประสิทธิภาพการทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจดีขึ้น
-
เพิ่มความแม่นยำในการวางแผน ผู้ประกอบการสามารถวางแผนทรัพยากรในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความผิดพลาดด้านการประสานงานภายในองค์กร
บทสรุป ความสำคัญของซอฟต์แวร์ และ ROI ในธุรกิจ
การใช้ซอฟต์แวร์ MES และ ERP เป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่ม ROI และยกระดับธุรกิจให้ก้าวสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล ด้วยการผสมผสานความสามารถของระบบ MES ที่เข้ามาช่วยติดตามและควบคุมระบบโรงงานแบบเรียลไทม์ และระบบ ERP ซึ่งมีบทบาทในการรวบรวมข้อมูลทุกส่วนของธุรกิจไว้ในที่เดียว ทำให้การใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหมดจึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน
บริษัท ARES เราคือผู้นำด้านโซลูชัน ciMES และ Argo ERP ที่ช่วยให้ธุรกิจของท่านสามารถพัฒนาตัวเลข ROI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อสร้าง Smart Factory เรามีทีมงานที่ช่วยให้คำปรึกษาและติดตั้งระบบปฏิบัติการ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ พร้อมทั้งเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของท่านได้อย่างยั่งยืน
ติดต่อเรา
คุณสามารถติดต่อเราเพื่อดู DEMO ได้ที่ Contact Us
หรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่าง
โทร 0633253640 หรือ 02-6863000 ต่อ 3042
Email: support@aresth.co.th